Mind Muscle Resistance Model
เป็นโมเดลที่ผู้สอนพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้เก่าเรื่อง Mind-Muscle Connection โดยเพิ่มตัวแปรเข้าไปอีก 1 ตัวแปร นั่นก็คือ Resistance หรือตัวแปรที่เป็นแรงต้าน เพื่อใช้สอนผู้ออกกำลังกายให้สามารถออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถที่จะ “โฟกัส” กล้ามเนื้อที่ต้องการได้ง่ายที่สุด หลังจากที่ผู้เรียน ได้ทำความเข้าใจและฝึกฝนผ่านการแนะนำหรือที่เรียกกันว่า “Cuing” จากผู้สอนแล้ว สามารถนำไปต่อยอดฝึกฝนเองได้ในตลอดเส้นทางชีวิตการออกกำลังกาย
จากที่ผู้สอนได้เขียนถึงแนวคิด “ความเชื่อ” และข้อผิดพลาดในการ “ออกแบบ” การออกกำลังกายโดยใช้ระบบระนาบ (Plane of Motion) มาเป็นหลักในการออกแบบ
Plane of Motion, Multiplanar Training, and Confusion (ตอนที่ 2)
ข้อบกพร่องการใช้ 3 Classes Lever Systems เพื่อจำแนกระบบคานในร่างกายมนุษย์และนำไปใช้กับการวิเคราะห์ความได้เปรียบของระบบคานในเครื่องออกกำลังกายแทน
3 Lever Classes in Human Body (Why it doesn’t matter) vs. The Application of Gym Equipment Analysis (ตอนที่ 1)
การวิเคราะห์ท่าออกกำลังกายที่เป็นที่นิยม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีประสิทธิภาพ
More Than Choreography
การวิเคราะห์แนวแรงที่กระทำต่อร่างกาย (Resistance Direction) และกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้งาน
Resistance Direction (Who’s on the Team?)
หรือแม้กระทั่งชี้ให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของร่างกายแต่ละบุคคล ที่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้เหมาะสมแก่ร่างกายบุคคลนั้นๆ
Structures and Idiosyncrasies (ความแตกต่างด้านโครงสร้างในแต่ละบุคคล ตอนที่ 1)
ทฤษฎีและความรู้ในหน้ากระดาษทั้งหมดทั้งมวลจะไม่มีความหมายหากในการปฏิบัติจริงนั้นล้มเหลว และการปฏิบัติจริงนั้นมีหลายสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตา แต่ความรู้สึกนั้นจะรับรู้ได้เพียงตัวของผู้ออกกำลัง หน้าที่ของผู้สอนที่เคยผ่านประสบการณ์มาแล้ว คือการนำทาง เพื่อให้ผู้ออกกำลังกายค้นพบประสบการณ์นั้นด้วยตัวเอง
ตัวแปรหลักทั้ง 3 ใน Model
1. Mind – “Everything Starts in Your Mind”
1. External to Internal
: การเปลี่ยนการสังเกตการณ์จากสิ่งที่อยู่ภายนอกสู่ภายใน
2. Visualization
: จินตภาพของการเคลื่อนไหว
3. Meditation
: สมาธิที่จดจ่อ
4. Objective
: เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของสิ่งที่กำลังทำ
2. Mind-Muscle – “Connect to Sensation”
1. Fiber Recruitment
: ความตระหนักรู้ถึงการมีอยู่ของเส้นใยกล้ามเนื้อนั้นๆ
2. Line of Fiber and Function
: เรียนรู้ตำแหน่งและระยะของเส้นใยกล้ามเนื้อและฟังก์ชั่นการใช้งาน
3. Visualization Contraction
: ฝึกจินตภาพที่ช่วยควบคุมการเกร็งตัว ของกล้ามเนื้อส่วนที่ต้องการโดยปราศจากแรงต้าน
4.Intention (How You Do It?)
: ความตั้งใจที่ไม่เหมือนเดิมในการเคลื่อนไหว สามารถส่งผลต่อการออกแรงในกล้ามเนื้อมัดเดิมในท่าออกกำลังกายเดิม ไม่เหมือนกัน
5.Intention Ratio (Co-Contraction)
: สัดส่วนการควบคุมแต่ละกลุ่มกล้ามเนื้อรอบๆข้อต่อที่กำลังจะใช้งาน
3. Mind-Muscle-Resistance – “Improving Quality”
1. Resistance as a Guide – Direction
: ใช้ทิศทางของแรงต้านเพื่อเป็นตัวนำความรู้สึก
2. ROM – Position
: ตำแหน่งและระยะของการเคลื่อนไหวหลังจาก Load แรงต้าน
3. Aligned Resistance – False Resistance
: สามารถใช้ความรู้สึกจำแนก “แรงต้านที่มีทิศกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง”
4. Quality of Resistance – Tempo
: สามารถใช้ความรู้สึกจำแนก “เอกลักษณ์ของแรงต้าน” ที่แตกต่างกัน จากต้นกำเนิดที่ไม่เหมือนกัน เช่น จากความแตกต่างของอัตราส่วนของรอกที่ใช้ แรงต้านที่เกิดจากการบีบอัดลม แรงต้านที่เกิดจากน้ำ แรงต้านที่เกิดจากแรงดึงดูด แรงต้านที่เกิดจากยางยืด
5. Good Resistance – Bad Resistance
: สามารถใช้ความรู้สึกจำแนก “คุณภาพของแรงต้าน” ที่กระทำตลอดระยะการเคลื่อนไหว (Resistance Profile) สามารถแยกแยะคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้เพื่อออกกำลังกายได้เบื้องต้น
6. Support – Stability
: หลักการของแรงซัพพอร์ท ที่ช่วยรักษาตำแหน่งและท่าทางร่างกาย (Position) ในขณะออกกำลังกาย