Plane of Motion ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง
- ความหมายและหลักการใช้โดยทั่วไป
- ส่วนที่มักเข้าใจผิดและทำให้สับสน
- ข้อบกพร่องเมื่อใช้ Plane of Motion อ้างอิง
- Multiplanar Exercise และ Program Design Based on Planar System (Debunked)
ความหมายและหลักการใช้โดยทั่วไป
Sagittal Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีเขียวในรูป
(ทิศทาง Anterior – Posterior) เมื่อมองจากด้านข้างลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Flexion
- Extension
- Dorsiflexion
- Plantarflexion
Frontal Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีม่วงในรูป
(ทิศทาง Superior – Inferior) เมื่อมองจากด้านหน้าลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Adduction
- Abduction
- Elevation
- Depression
- Inversion
- Eversion
- Lateral Flexion
- Deviation
Transverse Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีแดงในรูป
(ทิศทาง Medial – Lateral) เมื่อมองจากด้านบนลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Rotation
- Pronation
- Supination
- Horizontal Adduction
- Horizontal Abduction
Anatomical Position
ข้อสำคัญ: ระนาบของการเคลื่อนไหว (Plane of Motion) จะถูกใช้ในการบอกตำแหน่งการเคลื่อนไหว (Movement) ก็ต่อเมื่อร่างกายถูกจัดท่าทางให้อยู่ใน Anatomical Position
ท่าทางมาตรฐานในทางกายวิภาคศาสตร์ ถูกกำหนดไว้ เพื่อใช้ในการอ้างอิงและสื่อสารถึงการบอกตำแหน่งในร่างกายมนุษย์เพื่อให้เป็นที่เข้าใจเดียวกัน คือ ยืนลำตัวตั้งตรง หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนแต่ละข้างห้อยไว้ข้างลำตัว ฝ่ามือหันไปข้างหน้า ขาทั้งสองขนานกัน หันเท้าไปข้างหน้าราบกับพื้น
ข้อที่มักสับสนกันระหว่าง Plane และ Axis (1)
Axis (จุดหมุน) มี 3 Axis คือ
- Sagittal Axis
- Frontal Axis (Transversal Axis)
- Longitudinal Axis
Plane (ระนาบ) มี 3 Plane คือ
- Sagital Plane
- Frontal plane
- Transverse Plane
ตัวอย่างข้อสับสนระหว่าง Exercise และ Plane (2)
ท่าออกกำลัง Front Raise เกิดใน Sagittal Plane ไม่ได้เกิดใน Frontal Plane สิ่งนี้มักทำให้คนสับสนเมื่อพูดถึง Frontal Plane ที่จะจินตนการว่าเป็นการเคลื่อนไหวไปในแนวระนาบ ด้านหน้าลำตัวโดยอัตโนมัติ
ในกรณีที่ท่าออกกำลังกาย เริ่มต้นจาก Anatomical Position (หรือใกล้เคียง) จะไม่พบความบกพร่องของการใช้ระบบ Plane of Motion ได้ชัดเจนนัก แต่เมื่อท่าออกกำลังกายเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก
1. Sequences of motion
- Different joints (มีการเคลื่อนไหวของสองข้อต่อร่วมกัน)
- Same joint (มีการเคลื่อนไหวเป็นลำดับต่อเนื่องจากข้อต่อเดิม)
2.การเคลื่อนไหวในแนว plane ที่ก้ำกึ่งระหว่างกัน (Unidentified Plane)
จะเริ่มพบปัญหาในการกำหนดว่าท่าออกกำลังกายนั้นๆแท้จริงแล้วอยู่ใน plane อะไรดังจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนต่อไป
ข้อจำกัดที่เกิดจาก Sequences of Motion
ตัวอย่างที่ 1 : High Pulley Biceps Curl เกิดใน Frontal Plane เมื่อพิจารณาเฉพาะจากท่อนแขนที่มีการเคลื่อนไหวจะเป็น Elbow Flexion (Flexion ถูกนิยามว่าเกิดใน Sagittal Plane)
แต่เมื่อกำหนดชื่อตามแนวระนาบ Frontal จะกลายเป็น Elbow Adduction ซึ่งข้อศอกนั้นมีเพียง 1 Degree of Freedom เท่านั้นคือ Flexion และ Extension
ตัวอย่างที่ 2 : Internal และ External Shoulder Rotation ปลายท่อนแขนที่ขยับในสอง Plane คือ Sagittal และ Transverse Plane (เป็นผลจาก Shoulder Abduction ใน Starting Position)
เมื่อพิจารณาจะพบว่าการขยับนั้นมาจากการหมุนของ Shoulder Joint ที่จุดหมุน (Axis) เดิม (ในที่นี้เว้นการพิจารณาถึงโครงสร้างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ข้อต่อหัวไหล่)
Unidentified Planes of Motion
เมื่อพิจารณาจากท่าออกกำลังกายคือ Wide Grip Lat Pull Down จะเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดใน Frontal Plane แต่เมื่อเปลี่ยนตำแน่งในการจับให้ค่อยๆแคบลง การระบุ Plane ของท่าออกกำลังจะพบความก้ำกึ่ง ระหว่าง Frontal และ Sagittal Plane
กรณีเช่นเดียวกันนี้สามารถพบได้ในท่าออกกำลังกายอื่นๆ เช่น Barbell Bench Press ที่มีความก้ำกึ่งระหว่าง Transverse และ Sagittal Plane โดยมีตัวแปรสำคัญคือ ความตั้งใจในการเคลื่อนไหวของแต่ละคน (Intention) ทั้งนี้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งในสอง plane กลับเกิดจากข้อต่อหัวไหล่ที่จุดหมุนเดิม
หรือในกรณีการขยับของสะบัก (Scapular) ที่เป็นแบบ Free Axis ที่แท้จริงแล้วเกิดขึ้นตามแนวซี่โครง ไม่ชัดเจนว่าอยู่ใน Plane ใด Plane หนึ่ง
คำถามสำคัญ
- เราควรกำหนดให้การเคลื่อนไหว Joint ใดๆ ผูกติดอยู่กับระบบ Plane of Motion หรือควรพิจารณาการเคลื่อนไหวเฉพาะข้อต่อนั้นๆ? (เช่น เมื่ออ้างถึง Elbow Flexion ก็ไม่จำเป็นต้องผูกติดว่าอยู่ใน Sagittal Plane)
- เราควรกำหนด Plane ให้กับท่าออกกำลังกายหรือไม่? หากการเคลื่อนไหวกลับเกิดขึ้นที่จุดหมุนเดิมของ Joint นั้นๆ แต่มีการเปลี่ยน Plane โดยเป็นผลมาจากความคลุมเครือของการระบุ Plane
- เราควรวางโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยมีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวใน Plane of Motion ทั้งสามแนว (Multiplanar Training) หรือไม่? อ่านต่อในตอนที่ 2