Plane of Motion ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึง
- ความหมายและหลักการใช้โดยทั่วไป
- ส่วนที่มักเข้าใจผิดและทำให้สับสน
- ข้อบกพร่องเมื่อใช้ Plane of Motion อ้างอิง
- Multiplanar Exercise และ Program Design Based on Planar System (Debunked)
ความหมายและหลักการใช้โดยทั่วไป
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/C8ABD1E8-32C5-44B3-89BE-C52C9416F8EE-665x1024.jpg)
Sagittal Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีเขียวในรูป
(ทิศทาง Anterior – Posterior) เมื่อมองจากด้านข้างลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Flexion
- Extension
- Dorsiflexion
- Plantarflexion
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-5.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-6.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-7.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-8.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/4D803F23-B66B-4541-B309-FA1998CE2B89-611x1024.jpg)
Frontal Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีม่วงในรูป
(ทิศทาง Superior – Inferior) เมื่อมองจากด้านหน้าลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Adduction
- Abduction
- Elevation
- Depression
- Inversion
- Eversion
- Lateral Flexion
- Deviation
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-11.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-12.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-10.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-9.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/55C8006F-C227-40AE-9D07-8CDE02D44DF2-843x1024.jpg)
Transverse Plane
ลักษณะการเคลื่อนไหวที่เกิดในระนาบนี้จะมีทิศทางไปในทางเดียวกันกับระนาบสีแดงในรูป
(ทิศทาง Medial – Lateral) เมื่อมองจากด้านบนลำตัวจะเห็นการเปลี่ยนแปลงมุมองศาได้ง่าย
- Rotation
- Pronation
- Supination
- Horizontal Adduction
- Horizontal Abduction
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-4.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-3.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter-2.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723548334-ezgif.com-video-to-gif-converter.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/anatomical-position.webp)
Anatomical Position
ข้อสำคัญ: ระนาบของการเคลื่อนไหว (Plane of Motion) จะถูกใช้ในการบอกตำแหน่งการเคลื่อนไหว (Movement) ก็ต่อเมื่อร่างกายถูกจัดท่าทางให้อยู่ใน Anatomical Position
ท่าทางมาตรฐานในทางกายวิภาคศาสตร์ ถูกกำหนดไว้ เพื่อใช้ในการอ้างอิงและสื่อสารถึงการบอกตำแหน่งในร่างกายมนุษย์เพื่อให้เป็นที่เข้าใจเดียวกัน คือ ยืนลำตัวตั้งตรง หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนแต่ละข้างห้อยไว้ข้างลำตัว ฝ่ามือหันไปข้างหน้า ขาทั้งสองขนานกัน หันเท้าไปข้างหน้าราบกับพื้น
ข้อที่มักสับสนกันระหว่าง Plane และ Axis (1)
Axis (จุดหมุน) มี 3 Axis คือ
- Sagittal Axis
- Frontal Axis (Transversal Axis)
- Longitudinal Axis
Plane (ระนาบ) มี 3 Plane คือ
- Sagital Plane
- Frontal plane
- Transverse Plane
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/Plane-of-Motion-2.png)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/Plane-of-Motion-3.png)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/Plane-of-Motion-4.png)
(Frontal Axis ในบางครั้งจะถูกเรียกว่า Transversal Axis หรือ Horizontal Axis)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/Plane-of-Motion-5.png)
ตัวอย่างข้อสับสนระหว่าง Exercise และ Plane (2)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723629992-ezgif.com-video-to-gif-converter.gif)
ท่าออกกำลัง Front Raise เกิดใน Sagittal Plane ไม่ได้เกิดใน Frontal Plane สิ่งนี้มักทำให้คนสับสนเมื่อพูดถึง Frontal Plane ที่จะจินตนการว่าเป็นการเคลื่อนไหวไปในแนวระนาบ ด้านหน้าลำตัวโดยอัตโนมัติ
ในกรณีที่ท่าออกกำลังกาย เริ่มต้นจาก Anatomical Position (หรือใกล้เคียง) จะไม่พบความบกพร่องของการใช้ระบบ Plane of Motion ได้ชัดเจนนัก แต่เมื่อท่าออกกำลังกายเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก
1. Sequences of motion
- Different joints (มีการเคลื่อนไหวของสองข้อต่อร่วมกัน)
- Same joint (มีการเคลื่อนไหวเป็นลำดับต่อเนื่องจากข้อต่อเดิม)
2.การเคลื่อนไหวในแนว plane ที่ก้ำกึ่งระหว่างกัน (Unidentified Plane)
จะเริ่มพบปัญหาในการกำหนดว่าท่าออกกำลังกายนั้นๆแท้จริงแล้วอยู่ใน plane อะไรดังจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนต่อไป
ข้อจำกัดที่เกิดจาก Sequences of Motion
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/IMG_0783.gif)
ตัวอย่างที่ 1 : High Pulley Biceps Curl เกิดใน Frontal Plane เมื่อพิจารณาเฉพาะจากท่อนแขนที่มีการเคลื่อนไหวจะเป็น Elbow Flexion (Flexion ถูกนิยามว่าเกิดใน Sagittal Plane)
แต่เมื่อกำหนดชื่อตามแนวระนาบ Frontal จะกลายเป็น Elbow Adduction ซึ่งข้อศอกนั้นมีเพียง 1 Degree of Freedom เท่านั้นคือ Flexion และ Extension
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/IMG_AA36194488F6-1.jpeg)
ตัวอย่างที่ 2 : Internal และ External Shoulder Rotation ปลายท่อนแขนที่ขยับในสอง Plane คือ Sagittal และ Transverse Plane (เป็นผลจาก Shoulder Abduction ใน Starting Position)
เมื่อพิจารณาจะพบว่าการขยับนั้นมาจากการหมุนของ Shoulder Joint ที่จุดหมุน (Axis) เดิม (ในที่นี้เว้นการพิจารณาถึงโครงสร้างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ข้อต่อหัวไหล่)
Unidentified Planes of Motion
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723635010-ezgif.com-video-to-gif-converter.gif)
![](https://phaitus.com/wp-content/uploads/2024/11/RPReplay_Final1723634900-ezgif.com-speed.gif)
เมื่อพิจารณาจากท่าออกกำลังกายคือ Wide Grip Lat Pull Down จะเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดใน Frontal Plane แต่เมื่อเปลี่ยนตำแน่งในการจับให้ค่อยๆแคบลง การระบุ Plane ของท่าออกกำลังจะพบความก้ำกึ่ง ระหว่าง Frontal และ Sagittal Plane
กรณีเช่นเดียวกันนี้สามารถพบได้ในท่าออกกำลังกายอื่นๆ เช่น Barbell Bench Press ที่มีความก้ำกึ่งระหว่าง Transverse และ Sagittal Plane โดยมีตัวแปรสำคัญคือ ความตั้งใจในการเคลื่อนไหวของแต่ละคน (Intention) ทั้งนี้การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งในสอง plane กลับเกิดจากข้อต่อหัวไหล่ที่จุดหมุนเดิม
หรือในกรณีการขยับของสะบัก (Scapular) ที่เป็นแบบ Free Axis ที่แท้จริงแล้วเกิดขึ้นตามแนวซี่โครง ไม่ชัดเจนว่าอยู่ใน Plane ใด Plane หนึ่ง
คำถามสำคัญ
- เราควรกำหนดให้การเคลื่อนไหว Joint ใดๆ ผูกติดอยู่กับระบบ Plane of Motion หรือควรพิจารณาการเคลื่อนไหวเฉพาะข้อต่อนั้นๆ? (เช่น เมื่ออ้างถึง Elbow Flexion ก็ไม่จำเป็นต้องผูกติดว่าอยู่ใน Sagittal Plane)
- เราควรกำหนด Plane ให้กับท่าออกกำลังกายหรือไม่? หากการเคลื่อนไหวกลับเกิดขึ้นที่จุดหมุนเดิมของ Joint นั้นๆ แต่มีการเปลี่ยน Plane โดยเป็นผลมาจากความคลุมเครือของการระบุ Plane
- เราควรวางโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยมีพื้นฐานจากการเคลื่อนไหวใน Plane of Motion ทั้งสามแนว (Multiplanar Training) หรือไม่? อ่านต่อในตอนที่ 2